เศรษฐกิจของรัสเซียโดยรวมมีความแข็งแกร่งกว่าประเทศที่สำคัญหลายประเทศ

2เศรษฐกิจของรัสเซียโดยรวมมีความแข็งแกร่งกว่าประเทศที่สำคัญหลายประเทศโดยเฉพาะประเทศในเขตยูโรโซนในช่วงปีที่ผ่านมา  ติดตามภาพรวมทางเศรษฐกิจของรัสเซีย ปัจจัยที่ส่งผลกระทบทางบวกต่อเศรษฐกิจ ความเคลื่อนไหวที่สำคัญในด้านเศรษฐกิจในช่วงปี 2554 และแนวโน้มของเศรษฐกิจรัสเซียในปี 2555 ได้ดังต่อไปนี้ เศรษฐกิจรัสเซียมีอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ร้อยละ 4.1 ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ดี และเป็นการขยายตัวอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 เป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่าเศรษฐกิจรัสเซียได้ฟื้นฟู จากปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจอย่างรุนแรงที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2551ดัชนีทางเศรษฐกิจระดับมหภาคส่วนใหญ่เป็นไปในทางบวก อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับ ร้อยละ 6.1 ซึ่งไม่ต่ำนัก แต่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์ 20 ปีของรัสเซีย การกู้ยืมจากต่างประเทศอยู่ในระดับที่ต่ำสุดในหมู่ประเทศ

อุตสาหกรรมชั้นนำและสัดส่วนหนี้สินต่างประเทศเพียงร้อยละ10 ของ GDP ในด้านการผลิตภาคอุตสาหกรรม รัสเซียสามารถเพิ่มผลผลิตได้ร้อยละ 4.7 เป็นลำดับที่สี่รองจากประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ คือ จีน อินเดีย และเยอรมัน ตามลำดับ ภาคการเกษตรและภาคการก่อสร้าง ต่างมีอัตราการขยายตัวที่สูงขึ้น ในระดับร้อยละ 16.1 และ 4.8 ตามลำดับ ในด้านการค้าระหว่างประเทศ ณ เดือนพฤศจิกายน 2554  รัสเซียได้เปรียบดุลการค้ากับคู่ค้าทั่วโลกรวม 78 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และในส่วนการค้ากับประเทศไทย ซึ่งมีมูลค่าอยู่ที่ 3.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และขยายตัวที่ร้อยละ 147.7 ต่อปี รัสเซียเป็นฝ่ายเสียดุลเล็กน้อย เศรษฐกิจของรัสเซียโดยรวมมีความแข็งแกร่งกว่าประเทศที่สำคัญหลายประเทศโดยเฉพาะประเทศในเขตยูโรโซนในช่วงปีที่ผ่านมา

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบทางบวกต่อเศรษฐกิจราคาน้ำมันในตลาดโลกในปีที่ผ่านมา รัสเซียสามารถผลิตและส่งออกน้ำมันมากที่สุดในโลกและด้วยสถานการณ์ด้านน้ำมันของตลาดโลกที่ทำให้ราคาน้ำมันดิบสูงโดยเฉลี่ย 113 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ทำให้รัสเซียสามารถนำเข้าเงินตราจากการส่งออกน้ำมันได้มากถึง 1.6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ และเมื่อรวมถึงการส่งออกก๊าซธรรมชาติ ซึ่งรัสเซียก็เป็นผู้ผลิตและส่งออกสูงสุดของโลก ทำให้การค้าระหว่างประเทศมีภาวะเกินดุล และรายได้จำนวนมากจากการส่งออกพลังงานดังกล่าวส่วนหนึ่งถูกนำไปสะสมในเงินสำรองระหว่างประเทศซึ่งปัจจุบันมีมากถึง 500,000 ล้านบาท เป็นอันดับที่สามของโลกรองจากจีนและญี่ปุ่น การบริหารงบประมาณแผ่นดินรัฐบาลได้เน้นการสร้างอุปสงค์ภายในประเทศอย่างต่อเนื่องโดยมุ่งเน้นการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ เพื่อสนับสนุนการลงทุน ทำให้การลงทุนในภาคการผลิตขยายตัวร้อยละ 6 ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลโดยตรงมาจากภาวะเศรษฐกิจระดับมหาภาคที่เอื้ออำนวยและภาคประชาชนมีการใช้จ่ายที่สูง กอร์ปกับมียอดเงินลงทุนไหลเข้าในช่วงปลายปี